- Atemiwaza การต่อสู้ด้วยการโจมตี
- Newaza การต่อสู้บนพื้นด้วยท่านอน
- Nagewaza การต่อสู้ด้วยการทุ่ม
- Ukemiwaza การฝึกการล้ม
- Kansetsu waza การต่อสู้ด้วยการหักล๊อก
- Buki waza การต่อสู้ด้วยอาวุธ
- Goshin jutsu การต่อสู้เพื่อการป้องกันตัว
โรงฝึก และ การฝึก
โรงฝึกอิทเท็น ยูยิสสู
ในภาษาญี่ปุ่นคำว่า อิทเท็น 一天 มีความหมายถึง ท้องฟ้า หรือ เวหา ในอดีตโรงฝึกเปิดขึ้นครั้งแรกมาตั้งแต่ประมาณปี 2544 และ จนกระทั่งอาจารย์ได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น โรงฝึกได้ทำการสอนต่อไปโดยกลุ่มลูกศิษย์อาวุโส และ ในช่วงปี 2547 โรงฝึกเปลี่ยนชื่อโรงฝึกเป็นอิทเท็นยูยิสสู โดยทำการปิดโรงฝึกไปช่วงหนึ่งเมื่อมีปัญหาเรื่องสถานที่ ต่อมาได้กลับมาเปิดอีกครั้งในปี 2551 มี อ.เกรียงศักดิ์ เทพโยธิน เป็นหัวหน้าโรงฝึก
การฝึกจะเป็นในรูปแบบของยูยิสสู ญี่ปุ่น ที่มีทั้งแบบโบราณ(โคริว) และ แบบสมัยใหม่(เก็นได) ซึ่งในแบบของโคริวจะประกอบด้วยการฝึกการต่อสู้ป้องกันตัวในด้านมือเปล่า และ อาวุธ ส่วนในแบบของเก็นไดได้นำกติกาของสปอร์ต ยูยิสสู สากลมาใช้กับการฝึกและแข่งขัน นอกจากนั้นปัจจุบันการฝึกของโรงฝึกยังมีส่วนการฝึกของไดโตริว ยูยิสสู โดยปัจจุบัน อาจารย์เกรียงศักดิ์ ได้รับตำแหน่งผู้สอนของไดโดริว โดยให้เป็นหัวหน้ากลุ่มฝึก Nihonden Aiki-jujutsu ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการอีกด้วย
ในส่วนการฝึกยูยิสสูของโรงฝึกอิทเท็นจะประกอบไปด้วยส่วนหลัก ๆ ดังต่อไปนี้